|
||
Home |
Program |
Chairpersons |
Day 1 |
Day 2 |
Rationale |
Registration หน้าหลัก ตารางนำเสนอ คณะกรรมการ ผู้นำเสนอ1 ผู้นำเสนอ2 ที่มาและความสำคัญ ลงทะเบียน |
การสัมมนาเกิดจากความร่วมมือของนักวิชาการในประเทศไทย ที่ดูแลปัญหาสำคัญของประเทศทางด้านวิทยาศาสตร์สุขาพและสิ่งแวดล้อม
สถิติขององค์การอนามัยโลก อัตราการตายมาตรฐานรายอายุของไทยมากกว่าสองเท่าของประเทศญี่ปุ่น กลยุทธ์การลดอัตราการตายในประเทศไทยมีความซับซ้อนเนื่องจากสาเหตุการตายที่ระบุในใบมรณบัตรส่วนใหญ่ไม่ถูกต้อง เพื่อชี้ให้เห็นปัญหานี้กระทรวงสาธารณสุขได้ทำการสอบสวนสาเหตุการตายในปี พ.ศ. 2548 เพื่อตรวจสอบสาเหตุการตายของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 9,644 ราย จาก 9 จังหวัดของประเทศไทย อาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างเป็นระบบ ผู้นำเสนอจะแสดงให้เห็นว่าสามารถลดร้อยละของสาเหตุการตายที่ไม่ชัดแจ้งในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 - 2552 ลงได้ วิธีการนี้สามารถประมาณอัตราการตายที่แท้จริงของสาเหตุการตายหลักของประชากรไทยจำแนกตามเพศ กลุ่มอายุ จังหวัด และปี แต่วิธีการนี้ไม่สามารถนำมาใช้ประเมินการตายรายบุคคลได้ นิติวิทยาศาสตร์จึงมีความจำเป็น การบรรยายพิเศษในประเด็นนี้โดย แพทย์หญิง คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ เป็นการบรรยายวิธีการที่ใช้ในการสอบสวนสาเหตุการตายรายบุคคล การนำเสนอการศึกษาที่เน้นการประยุกต์ทางด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของประเทศไทย เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ การใช้ที่ดิน และนิเวศน์วิทยาทางน้ำ ผู้นำเสนอหัวข้อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศจะเน้นที่ปริมาณฝนรายวัน จากสถานีตรวจอากาศของประเทศไทยในทศวรรตที่ผ่านมา พลังงานรังสีดวงอาทิตย์รายวันที่รวบรวมจาก 6 สถานีในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 และอุณหภูมิเฉลี่ยรายเดือนของพื้นผิวโลก ตั้งแต่ปี พ.ศ.2452 จำนวน 2,592 กริดบ๊อกขนาด 5 x 5 องศา ข้อมูลการใช้ที่ดินประกอบด้วยข้อมูลปริมาณมหาศาลจากการรวบรวมของกรมพัฒนาที่ดิน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 แต่การอธิบายแนวโน้มของการพัฒนาที่ดินจากข้อมูลชุดนี้มีความซับซ้อน เพราะประเภทของการใช้ที่ดินหลากหลายและเปลี่ยนแปลงตามเวลา การสัมมนาในวันศุกร์เป็นเรื่องวิธีการสำหรับจัดการกับปัญหานี้ได้อย่างง่ายๆ โดยการแปลงโครงสร้างจาก polygons ให้เป็นโครงสร้างแบบดิจิตอล อธิบายประเด็นนี้โดยใช้ตัวอย่างของการการพัฒนาที่ดินตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 ของจังหวัดภูเก็ตและกระบี่ ประเด็นสำคัญอีกอย่างหนึ่งในประเทศไทย คือคุณภาพของระบบนิเวศน์ และจำเป็นต้องพัฒนาวิธีการสำหรับแสดงผล และวิเคราะห์ข้อมูลที่มีการเก็บอย่างต่อเนื่อง หัวข้อสุดท้ายของประเด็นนี้เป็นการนำเสนอปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่ยังคงดำเนินการศึกษาอยู่จนถึงปัจจุบัน ทางด้านสัตว์น้ำ พืช และคุณภาพน้ำจากคลองนาทับ และสัตว์ทะเลจากอ่าวบ้านดอน รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงจำนวนของนกประจำถิ่นแต่ละชนิดรายเดือน ที่รวบรวมข้อมูลโดยเจ้าหน้าที่หน่วยพิทักษ์ป่าทะเลน้อย ช่วงสุดท้ายของการสัมมนา Professor Don McNeil และทีมนักศึกษาสาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยในอดีตและปัจจุบันอธิบายประเด็นที่ว่า ทำไมระเบียบวิธีวิจัยที่เหมาะสมจึงจำเป็นในการจัดการกับปัญหาที่ท้าทายมนุษย์และปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่ประเทศไทยกำลังประสบอยู่ในปัจจุบัน โดยเน้นการใช้วิธีการที่มีการนำไปประยุกต์ใช้กันอย่างแพร่หลาย และสามารถ ใช้ได้ง่ายโดยอาศัยโปรแกรมสำเร็จรูป วิธีการดังกล่าวคือ Factor Analysis |
Dept of Mathematics & Computer Science, Faculty of Science & Technology, PSU Dept of Languages & Social Science, Faculty of Industrial Education, KMIT |
|
Last updated: February 7, 2013 |